ระบบขับถ่าย (Excretory System)
ระบบขับถ่าย (Excretory System)
ระบบขับถ่าย ทำหน้าที่กำจัดของเสียที่เกิดจากเมตาบอลิซึมของเซลล์ออกไปจากร่างกาย และช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมดุล
ไต เป็นอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายถั่ว มีสีแดงแกมน้ำตาลมีเยื่อหุ้มบางๆ ไตมี 2 ข้าง ซ้ายและขวา อยู่บริเวณด้านหลังของช่องท้อง ใกล้กระดูกสันหลังบริเวณเอว บริเวณส่วนที่เว้าเป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ
ไตเป็นอวัยวะที่ทำงานหนัก ในแต่ละนาทีจะมีเลือดมายังไตราว 1,000 มิลลิลิตร ไตจะขับของเสียออกมาในรูปของน้ำปัสสาวะ แล้วส่งต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ
กลไกการกำจัดของเสีย
ภายในไต ประกอบด้วย หน่วยไต (nephron) จํานวนมาก หน่วยไต ทําหน้าที่กรองของเสียและสารต่าง ๆ ออกจากเลือด โดยเลือดเข้าสู่ไตทางหลอดเลือดอาร์เตอรี (artery) สารที่ผ่านการกรองประกอบด้วยสารที่มีขนาดเล็ก เช่น นํ้า กลูโคส ของเสียต่าง ๆ แต่สารที่มีขนาดใหญ่ เช่น โปรตีน เซลล์เม็ดเลือด จะไม่ผ่านการกรอง จากนั้น สารที่ผ่านการกรอง ที่เป็นสารที่มีประโยชน์ เช่น นํ้า กลูโคส จะถูกดูดกลับเข้าสู่หลอดเลือดฝอย ซึ่งหลอดเลือดฝอยจะรวมกันแล้วนําเลือดออกจากไตกลับเข้าสู่หัวใจทางหลอดเลือดเวน (vein) ส่วนของเสียและสารอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการ รวมเรียกว่า ปัสสาวะ จะถูกลําเลียงไปยังกระเพาะปัสสาวะเพื่อรอการขับออกจากร่างกายผ่านทางท่อปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะของมนุษย์สามารถเก็บปัสสาวะได้ประมาณ 0.7 - 0.8 ลิตร แต่จะเริ่มรู้สึกปวดปัสสาวะเมื่อมีนํ้าปัสสาวะอยู่ประมาณ 0.2 ลิตรเท่านั้น ซึ่งการขับถ่ายปัสสาวะจะมีการเปลี่ยนแปลงของผนังกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูดที่กระเพาะปัสสาวะ
ไตมีหน้าที่ปรับสมดุลของน้ำ และแร่ธาตุในร่างกายคน โดยไตจะทำหน้าที่กรองของเสีย และสารแปลกปลอมออกจากกระแสเลือด แล้วขับออกทิ้งในรูปของน้ำปัสสาวะ ในขณะเดียวกันไตจะควบคุมน้ำและเกลือแร่ต่างๆ ในร่างกายให้คงที่ไปพร้อมกัน นอกจากนี้ ไตยังทำหน้าที่ขับของเสียที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึมของสารอาหาร รวมทั้งขับสารแปลกปลอมที่รับเข้าสู่ร่างกาย เช่น สารคาเฟอีน สารนิโคติน และแอลกอฮอล์ เป็นต้น
การเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบขับถ่าย
โรคไตวาย
ภาวะที่ไตทั้งสองข้างถูกทําลายจนไม่สามารถทํางานได้หรือทํางานได้น้อยกว่าปกติ ร่างกายสูญเสียความสามารถในการกรองของเสียออกจากเลือด ไม่สามารถขับของเสียออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะได้
โรคนิ่ว
เกิดจากการจับตัวกันของแร่ธาตุต่าง ๆ ซึ่งตกตะกอนรวมกันเป็นก้อนบริเวณไต ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ มีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น การอยู่ในบริเวณที่ร้อนทําให้ร่างกายสูญเสียเหงื่อได้ ง่ายแล้วดื่มนํ้าน้อย ทําให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นสูงขึ้นและเกิดเป็นตะกอนนิ่วหรือการรับประทานอาหารที่มีสารออกซาเลตสูง เช่น ผักโขม ใบชะพลู
อ้างอิงจาก หนังสือเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน) ชั้น ม.2 สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์